Blog entries categorized under บทความด้านเทคโนโลยีกับการบำบัดน้ำเสีย
เราจะช่วยกันรักษาแหล่งน้ำ ได้อย่างไร
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งกับผม Dr.UBA ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดน้ำเสีย นะครับ วันนี้ ผมมีบทความสั้นๆ ที่จะมาแนะนำให้ทุกคน รู้จักวิธีในการช่วยกันรักษาแหล่งน้ำของเรากันนะครับ
1. บำบัดน้ำเสียและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
2. ใช้บ่อดักไขมันและนำไขมันไปจัดการให้ถูกต้อง
...
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามลภาวะทางน้ำในแม่น้ำลำคลอง
สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ ผม Dr.UBA จะพาทุกท่าน มาเรียนรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามลภาวะทางน้ำในแม่น้ำลำคลองกันครับ เรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆกันเลยครับ ว่าสาเหตุของน้ำเสียในแม่น้ำลำคลอง มีอะไรบ้าง
1. น้ำเสียจากบ้าน ร้านค้าและอาคารที่ทำการ ชุมชนที่มีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยหลายๆหลังคาเรือน ย่านการค้าหรืออาคารที่ทำการ ล้วนจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และใช้สอยในจุดประสงค์อื่นๆ น้ำที่ใช้นี้จะมีปริมาณหนึ่งซึ่งเป็นปริมารส่วนใหญ่กลายเป็นน้ำทิ้งออกมา น้ำทิ้งส่วนมากจะเป็นน้ำจากส้วมและจากการชำระล้าง ซึ่งประกอบไปด้วยสารอินทรีย์ สบู่ ผงซักฟอก เศษอาหาร ไขมัน สารอนินทรีย์ และสิ่งปฏิกูลอื่นๆ เจือปนอยู่ สารเหล่านี้เมื่อไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง จะเกิดผลเสีย 2 ประการใหญ่ๆคือ ประการแรกช่วยเพิ่มสารอาหารเสริมแก่พืชน้ำและสัตว์น้ำ ทำให้พืชน้ำและสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น เมื่อพืขน้ำและสัตว์น้ำตายไป จะทำให้เกิดสารอินทรีย์ในน้ำเพิ่มขึ้น สารอินทรีย์ที่มาจากน้ำทิ้งและที่เกิดเพิ่มขึ้นนี้ ถ้ามีจำนวนมากเมื่อถูกย่อยสบายโดยแอโรบิกบักเตรีที่มีอยู่ในน้ำ ก็จะนำเอาออกซิเจนละลายน้ำมาใช้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ออกซิเจนในอากาศละลายลงในน้ำ ทำให้เกิดสภาพขาดออกซิเจนขึ้น อันเป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมาะกับแอนแอโรบิกบัคเตรีให้ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่อไป ทำให้น้ำกลายเป็นสีดำมีกลิ่นเหม็นส่วนสารอื่นๆ ที่ปนมา เช่น สารอนินทรีย์จะเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ทำให้คุณภาพน้ำทิ้งไม่ได้มาตรฐานและเสียประโยชน์ใช้สอยไป นอกจากนี้ถ้าน้ำทิ้งมีเชื้อโรคชนิดต่างๆที่เป็นอันตราย เช่น บัคเตรี และไวรัส ก็จะทำให้เกิดโรคได้
...
การบำบัดกากตะกอนหรือสลัดจ์ (Sludge Treatment) ทำอย่างไร ?
สวัสดีครับทุกท่าน กลับมาพบกับผม Dr.UBA ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการ บริหารจัดการน้ำ และ การ บำบัดน้ำเสีย แบบครบวงจร กันอีกครั้งนะครับ หลังจากที่เราได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับ ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสีย ไปแล้วนั้น วันนี้ผมจะมาต่อยอดและให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของการ บำบัดกากตะกอน กันนะครับ เรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆกันเลยครับ
ระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ใช้หลักการทางชีวภาพจะมีกากตะกอนจุลินทรีย์หรือสลัดจ์เป็นผลผลิตตามมาด้วยเสมอ ซึ่งเป็นผลจากการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในการกินสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องบำบัดสลัดจ์เหล่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการเน่าเหม็นของสลัดจ์ การเพิ่มภาวะมลพิษ และเป็นการทำลายเชื้อโรคด้วย นอก จากนี้การลดปริมาตรของสลัดจ์โดยการกำจัดน้ำออกจากสลัดจ์ ช่วยให้เกิดความสะดวกในการเก็บขนไปกำจัดทิ้งหรือนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ทั้งนี้ในการบำบัดสลัดประกอบด้วยกระบวนการหลักๆ ได้แก่
...
บำบัดน้ำเสีย มีกี่ขั้นตอน ?
สวัสดีครับทุกท่าน กลับมาพบกับผม Dr.UBA ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการ บำบัดน้ำเสีย แบบครบวงจร กันอีกครั้งนะครับ วันนี้ ผมมีบทความน่ารู้ มาให้ผู้อ่านทุกท่าน ได้เข้าใจถึง ขั้นตอนของการบำบัดน้ำเสียเบื้องต้นกันนะครับ ว่ามีทั้งหมดกี่ขั้นตอนและการบำบัดน้ำเสียนั้นมีวิธีการอย่างไร วันนี้ เรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆกันเลยนะครับ
การบำบัดน้ำเสีย สามารถแบ่งได้ตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. การบำบัดขั้นต้น (Preliminary Treatment) และการบำบัดเบื้องต้น (Primary Treatment) : เป็นการบำบัดเพื่อแยกทราย กรวด และของแข็งขนาดใหญ่ ออกจากของเหลวหรือน้ำเสีย โดยเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบด้วย ตะแกรงหยาบ (Coarse Screen) ตะแกรงละเอียด (Fine Screen) ถังดักกรวดทราย (Grit Chamber) ถังตกตะกอนเบื้องต้น (Primary Sedimentation Tank) และเครื่องกำจัดไขฝ้า (Skimming Devices) การบำบัด น้ำเสียขั้นนี้สามารถกำจัดของแข็งแขวนลอยได้ร้อยละ 50 - 70 และกำจัดสารอินทรีย์ซึ่งวัดในรูปของบีโอดีได้ ร้อยละ 25 - 40
...
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกับผม Dr.UBA กันอีกครั้งนะครับ วันนี้ ผมมีบทความดีๆ มาให้อ่านกัน ซึ่งบทความนี้อ้างอิงมาจากเว็บไซต์ของ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร นะครับ วันนี้ Dr.UBA จะพาทุกท่านเรียนรู้วิธีจัดการขยะ น้ำเสีย และสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน ว่าสามารถทำได้อย่างไรบ้าง
หากชาวชุมชนตระหนักในสภาพปัญหาขยะ ปัญหาน้ำเสีย และปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน และร่วมกันค้หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา ร่วมตัดสินใจเลือกวิธีการ ร่วมดำเนินการจัดการขยะและน้ำเสียตามแนวทางที่กำหนดร่วมกัน โดยดำเนินการตามขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ลดปริมาณมูลฝอย
...