Welcome to UBA Wastewater Treatment's Blog
เราจัดการขยะ น้ำเสีย และสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนได้อย่างไร
- Hits: 38913
- 0 Comments
- Subscribe to updates
- Bookmark
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกับผม Dr.UBA กันอีกครั้งนะครับ วันนี้ ผมมีบทความดีๆ มาให้อ่านกัน ซึ่งบทความนี้อ้างอิงมาจากเว็บไซต์ของ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร นะครับ วันนี้ Dr.UBA จะพาทุกท่านเรียนรู้วิธีจัดการขยะ น้ำเสีย และสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน ว่าสามารถทำได้อย่างไรบ้าง
หากชาวชุมชนตระหนักในสภาพปัญหาขยะ ปัญหาน้ำเสีย และปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน และร่วมกันค้หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา ร่วมตัดสินใจเลือกวิธีการ ร่วมดำเนินการจัดการขยะและน้ำเสียตามแนวทางที่กำหนดร่วมกัน โดยดำเนินการตามขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ลดปริมาณมูลฝอย
โดยคัดแยกไปใช้ประโยชน์ คัดแยกขยะรีไซเคิลออกมาขายหรือบริจาค และขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์โดยการทำน้ำหมักชีวภาพ หมักปุ๋ยใบไม้แห้ง หมักแก๊สชีวภาพ หรือแยกไว้เป็นอาหารสัตว์
2. จัดระบบการเก็บขยะมูลฝอย
ถังขยะในบ้านทุกบ้าน จัดการโดยแยกเป็นถัง 2 ใบ ใส่ขยะเศษอาหาร 1 ใบ อีกใบใส่ขยะทั่วไป ส่วนวัสดุรีไซเคิลใส่กล่องหรือถุงที่ใช้แล้ว ขยะอันตรายแยกไว้อีกถุง และนัดกับสำนักงานเขตให้เข้าเก็บเป็นเวลา เมื่อทุกบ้านมีถังขยะในบ้านแล้ว เก็บถังขยะออกจากถนนเป็นถนนปลอดถังขยะ จึงปรับปรุงภูมิทัศน์ด้วยไม้ดอกไม้ประดับ พืชสมุนไพร ผักสวนครัว ใช้ปุ๋ยและน้ำชีวภาพที่ได้จากเศษอาหารเป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้แทนปุ๋ยเคมี
3. ลดปัญหาน้ำเสียน้ำท่วม
ทุกบ้านร่วมกันไม่ทิ้งเศษอาหาร กากไขมันลงท่อระบายน้ำ มีถังดักไขมันที่อ่างล้างจาน และตักไขมันมาตากลมในที่ร่ม สามารถนำมาทำเชื้อเพลิงได้ นำเศษอาหาร เศษผักผลไม้หมักทำน้ำชีวภาพ ใช้เป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้ให้เจริญงอกงามแทนปุ๋ยเคมี และหยดลงแหล่งน้ำเสียเป็นประจำ จะช่วยทำให้น้ำใสสะอาดไม่มีกลิ่นเหม็นรบกวน
4. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมชุมชน
เมื่อปริมาณขยะลดลง จึงไม่จำเป็นต้องตั้งถังขยะทุกบ้าน อาจกำหนดจุดใดจุดหนึ่งของชุมชนเป็นที่รวบรวมขยะ และนัดเวลาเก็บกับสำนักงานเขต ทำให้ถนนในชุมชนไม่มีถังขยะ หาต้นไม้ พุ่มไม้สมุนไพร ผักสวนครัวมาปลูก ช่วยกันดูแลทำความสะอาดหน้าบ้าน จะทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น หน้าบ้านร่มรื่นชุมชนสะอาด สวยงามน่าอยู่ คุณภาพชีวิตของชาวชุมชนก็ดีขึ้น
การคัดแยกขยะไปใช้ประโยชน์ทำให้ขยะลดลง สามารถจัดการถังขยะในบ้าน ทำให้ถนนปลอดถังขยะ ลดปัญหาน้ำเสียปรับปรุงสภาพแวดล้อมในชุมชน ทำให้ชุมชนสะอาดปลอดขยะ ปลอดโรคและพาหาะนำโรค ชาวชุมชนมีสุขภาพดี เป็นชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน "
ขอขอบคุณ
ที่มาของบทความ จาก : http://203.155.220.174/modules.php?name=News&file=article&sid=164
รูปประกอบอ้างอิง จากwww.nou999.blogspot.com, www.mews.onep.go.th, www.student.nu.ac.th