dcsimg

Welcome to UBA Wastewater Treatment's Blog

ทฤษฎีที่ใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพ มีอะไรบ้าง

Posted by Super User
Super User
Super User has not set their biography yet
User is currently offline
on Tuesday, 12 May 2015 in บทความด้านเทคโลโนยีก๊าซชีวภาพ

ทฤษฎีที่ใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพ มีอะไรบ้าง


กระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพเป็นกระบวนการแบบไม่ใช้อากาศ ประกอบด้วยปฏิกิริยา 4 ขั้นตอนหลัก ซึ่งรวมเรียกว่า Anaerobic digestion ซึ่งมีรายละเอียดของปฏิกิริยาแต่ละขั้นตอน ดังนี้


1.1 Hydrolysis เป็นขั้นตอนที่ย่อยสลายสารโมเลกุลสารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนขนาดใหญ่ให้ เปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ มีความซับซ้อนน้อยลง และขนาดโมเลกุลเล็กลง สำหรับน้ำเสียประเภทแป้งจะเป็นการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว และน้ำตาลโมเลกุลคู่

1.2 Acidogenesisขั้นตอนนี้จะย่อยสลายสารที่ได้จากขั้นตอนแรกให้เป็นกรดอินทรีย์ชนิดโมเลกุล เล็ก เช่น กรดอะซิติก (Acetic acid) กรดโพไพโอนิก (Propionic acid) กรดวาเลอริก (Valeric acid) และกรดแลคติก (Lactic acid) โดยกรดทั้งหมดจะมีสัดส่วนของ กรดอะซิติก สูงที่สุด นอกจากนี้ยังเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไฮโดรเจน ส่วนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเล็กน้อยคือ แอมโมเนีย ไฮโดรเจนซัลไฟด์แอลกอฮอล์


1.3 Acetogenesisขั้นตอนนี้จะย่อยสลายสารประกอบต่อ ให้เป็นกรดไขมันระเหยง่ายที่มีอะตอมไม่เกินสองอะตอม ผลิตภัณฑ์ที่ได้ประกอบด้วยกรดอะซิติก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซไฮโดรเจน

1.4 Methanogenesisเป็นขั้นตอนที่เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยสลายในขั้นตอนที่ผ่านมาให้ เป็นก๊าซชีวภาพ โดยมีผลิตภัณฑ์คือ ก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และอื่นๆ


ขอขอบคุณ
ที่มาของข้อมูล : ทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญจากยูบีเอ
รูปประกอบ จาก : http://www.ashden.org/, http://www.umweltbundesamt.de/, http://followgreenliving.com/

0 votes
Tags: Untagged
Super User has not set their biography yet

Comments

Please login first in order for you to submit comments